จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562

‘เด็ก ม.6’ เปลี่ยนใบสับปะรดไร้ค่า ให้มีราคาเพิ่ม 20 เท่า จนตอนนี้กลายเป็นที่โด่งดัง


ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แต่เป็นที่น่ายินดีว่าช่วงไม่กี่ปีมานี้ ผู้คนจำนวนไม่น้อยหันมาเอาใจใส่ดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งคือการนำเอาวัสดุหรือวัตถุดิบที่ไม่ใช้แล้วมาแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนอกจากจะไม่ต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะเหล่านั้นแล้ว ยังได้สิ่งของมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย
เพิ่มมูลค่ากระดาษใยสับปะรด
คุณพลพงษ์ ตันติพิพัฒน์พงศ์ หรือ น้องมัช นักเรียนเกรด 12 จากโรงเรียนนานาชาติ NIST กรุงเทพฯ เป็นอีกคนหนึ่งที่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติ จึงได้นำใบสับปะรดมาแปรรูปเป็นกระดาษจากใยสับปะรด ในโครงการ Ever leaves โดยนำมาใส่ไอเดียเก๋ไก๋ ผลิตเป็นกระเป๋าอเนกประสงค์ กระเป๋าใส่บัตร และที่พันหูฟัง ของใช้งานในชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคดิจิตอลได้อย่างดี
สินค้าที่แปรรูปมาจากใยสับปะรดนี้ นอกจากจะมีความทนทานแล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าของเกษตรกรให้มีราคาสูงมากกว่า 20 เท่า
คุณสมใจ บุญใส สมาชิกกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า เดิมทางกลุ่มนำกระดาษจากใยสับปะรดมาผลิตเป็นที่ใส่ไม้จิ้มฟัน กล่องกระดาษทิชชู และสินค้าอื่นๆ แต่ขายได้ในราคาไม่แพง ถ้าไม่แปรรูปแล้วกระดาษใยสับปะรดจะขายได้น้อย ไม่ได้ราคาดี ซึ่งก็รู้ๆ กันอยู่ว่า ราคาสับปะรดเองก็ถูกมาก ยิ่งปี 2561 นี้ ราคาตกต่ำสุดในรอบ 11 ปี ทำให้เกษตรกรมีรายได้น้อยลง พอมีโครงการ Ever leaves ของน้องมัช มาช่วยให้คำแนะนำ เสนอเสริมไอเดียว่าควรจะนำกระดาษจากใยสับปะรดไปทำเป็นผลิตภัณฑ์แบบไหนที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าให้ได้ราคาสูงมากขึ้น และได้ขยายฐานกลุ่มลูกค้าไปยังกลุ่มอื่น ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
น้องมัชเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของโครงการ Ever leaves ว่ามีความสนใจและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด และเห็นว่าในแต่ละปีหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตของสับปะรด มีส่วนอื่นๆ ที่เหลือใช้ ซึ่งเกษตรกรนำไปขายเป็นปุ๋ยหรือเชื้อเพลิงในโรงงานปั่นไฟ ได้ราคาเพียง 50 บาท ต่อใบสับปะรด 100 กิโลกรัม ถือว่าเป็นเงินจำนวนที่น้อยมาก
อีกทั้งกลุ่มเกษตรกรบางกลุ่มที่นำใบสับปะรดมาแปรรูปเป็นกระดาษ ซึ่งใบสับปะรด 30 กิโลกรัม จะได้ใยสับปะรด 15 กิโลกรัม ผลิตกระดาษจากใยสับปะรดได้ 60 แผ่น ขายได้ในราคาแผ่นละ 10 บาท นอกจากนี้ เกษตรกรยังนำกระดาษจากใยสับปะรดมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่
ด้วยความคิดที่ว่านี้ น้องมัชจึงได้ริเริ่มก่อตั้งโครงการ Ever leaves ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือแนะนำพี่ๆ ป้าๆ ลุงๆ เกษตรกรไร่สับปะรด ในการปรับปรุงพัฒนาการผลิตกระดาษจากใยสับปะรดให้มีคุณภาพที่ดี มีความคงทนสวยงามมากขึ้น และที่สำคัญคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย มีรูปแบบการใช้งานที่ตอบโจทย์ Lifestyle ของคนยุคดิจิตอลมากยิ่งขึ้น เช่น ทำเป็นกระเป๋าอเนกประสงค์ ใส่มือถือ เงิน หรือเครื่องเขียน กระเป๋าใส่บัตร และที่พันหูฟัง ซึ่งถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยขายได้มากกว่า 20 เท่าจากราคากระดาษจากใยสับปะรด
สินค้าที่ผลิตจากกระดาษใยสับปะรดของโครงการ Ever leaves ตอนนี้มีอยู่ 3 ชนิด คือ 1. กระเป๋าอเนกประสงค์ ใส่มือถือ เงิน หรือเครื่องเขียน ราคา 359 บาท 2. กระเป๋าใส่บัตร ราคา 259 บาท และ 3. ที่พันหูฟัง ราคา 159 บาท สินค้าทั้ง 3 ชนิด ได้เสริมวัสดุด้านใน ตัดเย็บอย่างดี มีความทนทาน กันน้ำ และผลิตจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้สนใจสามารถชมสินค้าเพิ่มเติมและสั่งซื้อได้ที่เว็บไซต์ https://www.everleaves.org
น้องมัชแจกแจงว่า จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รูปแบบทันสมัยและตอบโจทย์การใช้งานกับเครื่องมืออุปกรณ์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป็นวัยรุ่นที่นิยมสินค้าที่ตอบโจทย์การใช้งานอุปกรณ์ที่ทันสมัย และกลุ่มนักท่องเที่ยว
สินค้าทั้ง 3 ชนิด มีจุดเด่นและได้รับความสนใจจากลูกค้าทั้งหมด เนื่องจากมีการทำวิจัยด้านการตลาดถึงลักษณะการใช้งานของกลุ่มลูกค้า ซึ่งถือว่าสามารถตอบโจทย์ได้อย่างน่าพอใจ
กับคำถามที่ว่าในท้องตลาดมีคู่แข่งหรือไม่ น้องมัชอธิบายว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบทันสมัยที่ทำจากกระดาษใยสับปะรด ยังไม่มีคู่แข่งรายอื่นทำ แต่จะมีสินค้าที่มีอรรถประโยชน์ในการใส่อุปกรณ์ต่างๆ เหมือนกันที่ทำจากวัสดุอื่น ซึ่งมีราคาแตกต่างกันไป
ในการแปรรูปใบสับปะรดเพื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่ว่านี้ น้องมัชบอกว่า ใช้เงินลงทุนไปประมาณ 500,000 บาท ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการโปรโมตและขายสินค้า คาดว่าจะได้เงินทุนคืนใน 1-2 ปี แต่ก็มีปัญหาอุปสรรคบ้าง ในช่วงเริ่มการผลิต เนื่องจากจำนวนผลิตน้อย ทำให้ต้นทุนสูง และต้องทำการโปรโมตเพื่อให้เป็นที่รู้จัก
เตรียมขยายตลาดออนไลน์
สำหรับแผนธุรกิจในอนาคต หนุ่มน้อยรายนี้แจกแจงว่า จะพยายามเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้มีดีไซน์หลากหลายมากขึ้น พร้อมทั้งโปรโมตผ่านช่องทางอื่น เช่น เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม เพื่อสร้างการรับรู้ของผู้บริโภคมากขึ้น
“ผมหวังว่าจะสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้กับผลิตภัณฑ์จากวัสดุพื้นบ้าน และสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน โดยปัจจุบันได้ให้ความช่วยเหลือและร่วมงานกับกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งถือเป็นเมืองหลวงของสับปะรด เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกสับปะรดมากที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นพืชเศรษฐกิจส่งออกมากที่สุดในประเทศอีกด้วย
นอกจากนี้ ผมยังคาดหวังว่า Ever leaves จะเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพสินค้าแปรรูปจากวัสดุธรรมชาติให้มีมูลค่าเพิ่มและมีความเป็นสากลมากขึ้น เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และสามารถต่อยอดถ่ายทอดความรู้ไปสู่การพัฒนาส่วนอื่นๆ ต่อไป” น้องมัช กล่าว
ผู้ประกอบการหน้าใหม่รายนี้ยังให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่อยากเข้ามาทำธุรกิจดังกล่าวว่า การแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ควรมองหาวัสดุเหลือใช้ที่สามารถเปลี่ยนให้เป็นวัสดุที่มีความโดดเด่น อาจจะเป็นเรื่องความสวยงามของ texture หรือคุณสมบัติอื่นๆ เช่น ความคงทน และที่สำคัญ ควรทำการทดลองผลิตว่าสามารถทำผลิตภัณฑ์ได้จริง ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน
แหล่งที่มา : sentangsedtee
ขอบคุณบทความจาก https://www.item2day.com

40 ไอเดีย “ออกแบบระเบียงชมวิว” ดื่มด่ำไปกับบรรยากาศธรรมชาติ พร้อมมุมกว้างชมวิวรอบทิศ



เรามักจะเห็น ระเบียงชมวิว ตามรีสอร์ทหรือตามสถานที่ท่องเที่ยวสวยๆ และมันก็เรียกว่าเป็นจุดยอดฮิตที่ใครหลายคนมักจะไปเก็บภาพสวยๆ และรับบรรยากาศจากธรรมชาติ ซึ่งถ้าหากใครมีบ้านพักตาอากาศสักหลัง การออกแบบบ้านให้มีระเบียงกว้างสำหรับชมวิว ก็ถือว่าเป็นไอเดียที่ไม่เลวเลยล่ะค่ะ
และวันนี้ ในบ้าน ก็ได้นำ 40 ไอเดีย “ออกแบบระเบียงชมวิว” มาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน รวบรวมไว้ด้วยดีไซน์ที่สามารถปรับใช้กับบ้านพักตากอากาศได้ เพื่อให้บ้านมีพื้นที่ชมวิวสวยๆ ราวกับได้ไปพักผ่อนรับธรรมชาติในต่างจังหวัด จะมีไอเดียไหนน่าสนใจบ้าง เราลองไปชมกันเลยดีกว่าค่ะ

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

10.

11.

12.

13.

14.

15.

16.

17.

18.
Advertisement

19.

20.

21.

22.

23.

24.

25.

26.

27.

28.

29.

30.

31.

32.

33.

34.

35.

36.

37.

38.

39.

40.

ที่มา : Pinterest

ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพิ่มมูลค่า จากไผ่ธรรมดา ให้เป็นไผ่สี่เหลี่ยม ทำเองได้ง่าย



ภูมิปัญญาชาวบ้าน เพิ่มมูลค่า จากไผ่ธรรมดา ให้เป็นไผ่สี่เหลี่ยม ทำเองได้ง่าย ๆ


ต้นไผ่ถือเป็นผลผลิตทางการเกษตรอย่างหนึ่งที่มีชาวเกษตรกรอย่างมากมายนิยมถือกันซึ่งไผ่สี่เหลี่ยมญี่ปุ่นนั้นก็ถือว่าเป็นอีกฝ่ายหนึ่งที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่างโดยไผ่ญี่ปุ่นแท้มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นต้นไม้ยืนต้นและมีเนื้อไม้แข็งขนาดของเกาะแก้วจะไม่ใหญ่มากและกว้างเกินไปซึ่งสูงได้ถึงประมาณ 15 เมตรและมีครอบครองภายในกลวงและมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณอยู่ที่ประมาณ 1.5 หรือ 2 นิ้ว มีขนาดกล่องเป็นสี่เหลี่ยมอย่างชัดเจนถ้าหากได้สัมผัสแต่ถ้าหากมองด้วยตาก็ยังมองเห็นคำคมอยู่ซึ่งบอกไปว่าเป็นลักษณะที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
โดยภายตอนนี้เป็นไพ่ใบเดียวออกเรียงกันเป็นลูกพ่อปลายเรียวแหลมโค้งมนขอบใบสั่งแหลมคมเหมือนกับใบไผ่ทั่วๆไปแต่ก็จะมีความหนาและสีเขียวที่สุดกว่าและเวลาแตกกอก็จะมีใบดกระให้ร่มรื่นดีมากโดยเฉพาะในฤดูหนาวนั้นเวลามีลมเข้ามาปะทะก็จะได้เสียงพลิ้วไหวของไผ่ทำให้รู้สึกว่ามีบรรยากาศธรรมชาติดีเป็นอย่างมากซึ่งส่วนใหญ่ไผ่สี่เหลี่ยมญี่ปุ่นนั้นมาจะมีขายตามตลาดนัดไม้ดอกทั่วไปค่ะและไผ่สี่เหลี่ยมนี้มีด้วยกันอยู่ 2 สายพันธุ์ค่ะ
ซึ่ง 2 สายพันธุ์นี้จะมีความนิยมและขายแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์ที่นำเข้าจากจีนแล้วก็ไผ่สี่เหลี่ยมญี่ปุ่นนั่นเองซึ่งจะมีการพบว่าวางขายอยู่ตามตลาดนัดเป็นดอกไม้ประดับในสวนจตุจักรแต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะว่าลักษณะเหมือนไผ่จีนและทำให้คนได้เข้าใจว่าเป็นพันธุ์จากประเทศจีนทั้งทั้งที่จริงแล้วเป็นพันมาจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะมีลักษณะคล้ายๆกับไผ่สี่เหลี่ยมของประเทศจีนแต่แตกต่างกันในเรื่องของประโยชน์ใช้สอยนั่นเองเพราะว่าภาษาจีนและญี่ปุ่นนั้นสามารถสร้างร่มเงาให้กับบริเวณด้านบ้านได้อีกทั้งยังเอารำไพนั้นไปใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจได้อีกด้วยค่ะ
และไผ่ญี่ปุ่นนั้นจะมีลักษณะสี่เหลี่ยมสารอย่างชัดเจนขนาดของรำไพไม่ใหญ่โตจนเกินไปซึ่งสามารถเอามาได้ร่วมระหว่างขายได้รับความนิยมอย่างมากอีกทั้งยังสวยงามและทนทานอีกด้วยซึ่งจะแตกต่างจากสายพันธุ์ของจีนเพราะว่าเขาจะนิยมมาปลูกไว้ตามบริเวณบ้านลำต้นไผ่มีขนาดเล็กใบหยกสามารถให้ความร่มรื่นได้เหมือนกันและจะไม่สามารถใช้สอยได้เท่ากับไผ่เสียงญี่ปุ่นค่ะ
วันนี้ทางทีมงานก็จะพาทุกคนนั้นเป็นธรรมวิธีทำไผ่สี่เหลี่ยมกันแบบง่ายๆซึ่งจะทำอย่างไรบ้างนะลองตามกันมาดูเลย
อุปกรณ์
1.แผ่นไม้
2.ตะปูและลวด
วิธีทำ
ขั้นตอนที่ 1 นำเอาแผ่นไม้มาประกอบการรับตอกยึดด้วยตะปูและการนำลวดมาพันรอบๆเพื่อความแข็งแรงเพื่อทำเป็นบล็อกเล็กๆสั้นๆตรงโคนหน่อและเมื่อไผ่โตขึ้นก็จะเป็นบล็อกตามที่เราทำเอาไว้
ขั้นตอนที่ 2 ซึ่งวิธีใช้ไม้บล็อกแบบนี้อย่าบังคับต้นไผ่ได้กับทุกสายพันธุ์
ขั้นตอนที่ 3และจะเห็นได้ว่าเมื่อไข่โตขึ้นนั้นก็จะไปกลายเป็นสี่เหลี่ยมอย่างที่เห็น
และประโยชน์ของมันนั้นก็สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบและราคาขึ้นอยู่กับการที่เราวางบล็อกเอาไว้ซึ่งสามารถเอามาพัฒนาแปรรูปเป็นแก้วน้ำหรือทำเป็นที่เขี่ยบุหรี่หรือจะเป็นชามเล็กๆเอาไว้ใส่น้ำจิ้มใส่อาหารก็ได้ค่ะหรือจะนำไปเป็นถ้วยไอติมทำเป็นกระปุกออมสินก็ได้แต่ความคิดความต้องการของแต่ละคนที่จะนำภัยมาแปรรูปกัน
และนี่ก็คือคนไทยในการแปรรูปจากภายนั่นเองค่ะซึ่งบอกเลยว่าปลาชนิดนี้สามารถแปรรูปได้หลากหลากหลายและสามารถทำลูกซองได้อย่างตามที่เราต้องการซึ่งก็น่าจะอยู่ขึ้นอยู่กับบล็อกที่เราทำนะคะและในชนิดนี้สามารถอยู่ได้นานและมีความคงทนอย่างแน่นอนค่ะและนี่ก็ถือเป็นบทความดีดีที่เรานำมาเสนอกันในวันนี้ซึ่งหากไรเขียนว่าดีก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะครับ
ที่มา http://รับขายบ้านที่ดิน.com

“ผิดกฎหมาย” โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท




985

















วันที่ 24 พ.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่มีนักเรียนชายชั้น ม.3 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ขี่รถจักรยานยนต์ไปเฉี่ยวชนกองข้าวเปลือก ที่เกษตรกรตากไว้บนถนนทางหลวงหมายเลข 3047 สายบ้านหนองม่วงน้อย–หนองไทร ต.ทะเมนชัย อ.ลำปลายมาศ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 10 พ.ย. ที่ผ่านมา ทำให้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย ซึ่งขณะนี้ ผู้บาดเจ็บยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์
ซึ่งจากการลงพื้นที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุ พบเป็นถนน 2 ช่องจราจร ไม่ได้เป็นทางโค้ง แต่ไม่พบเกษตรกรนำข้าวเปลือกมาตากบนถนนสายดังกล่าวแล้ว มีเพียงร่องรอยบริเวณจุดเกิดเหตุเท่านั้น จากการสอบถามชาวบ้านใกล้เคียงให้ข้อมูลว่า วันเกิดเกตุได้มีเกษตรกรนำข้าวเปลือกไปตากบนถนนสายดังกล่าว เพื่อลดความชื้นหลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จเป็นปกติเหมือนทุกปี
เนื่องจากในหมู่บ้านมีลานที่ใช้สำหรับตากข้าวเพียงจุดเดียว คือ ลานคอนกรีตศาลากลางหมู่บ้าน แต่เกษตรกรส่วนมากจะเก็บเกี่ยวผลผลิตพร้อมกัน ทำให้สถานที่ตากไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องนำไปตากตามถนนลาดยางในหมู่บ้าน ตำบล ซึ่งก็ใช้เวลาตากเพียง 2-3 วัน แต่ช่วงเย็นวันเกิดเหตุ มีฝนตกหนักทำให้สภาพถนนลื่น ทั้งอาจเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่ด้วย จึงทำให้รถจักรยานยนต์เสียหลักล้ม จนทำให้มีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว
ชาวบ้านหนองม่วงน้อย บอกตรงกันว่า สาเหตุที่เกษตรกรต้องนำข้าวเปลือกมาตากบนถนนลาดยาง เนื่องจากสถานที่ตากในหมู่บ้านไม่เพียงพอ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตพร้อมๆ กัน และการตากบนถนนทำให้ข้าวเปลือกแห้งเร็วใช้เวลาเพียง 2–3 วัน ก็เก็บเข้ายุ้งฉาง หรือนำไปขายให้กับโรงสีได้แล้ว แต่หากตากตามพื้นหญ้าจะทำให้ข้าวเปียกชื้นแห้งช้า อาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ หากถามว่าเกษตรกรรู้หรือไม่ว่าการนำข้าวเปลือกมาตากบนถนนผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่ารู้แต่ก็ไม่มีทางเลือก เพราะหากไม่รีบตากให้แห้งแล้วมีฝนตกใส่ข้าวเปียก ก็จะทำให้เมล็ดข้าวมีความชื้นสูง เสื่อมคุณภาพ และหักเสียหายทำให้ขายไม่ได้ราคา
จึงอยากจะฝากให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการทำลานตากเป็นพื้นปูนให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อจะได้ลดปัญหาสถานที่ตาก เพราะเกษตรกรเองก็ไม่ได้อยากมาตากบนถนนอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจบนถนนตามหมู่บ้าน ตำบล ในหลายอำเภอ ยังคงมีเกษตรกรนำข้าวเปลือกออกมาตากตามถนนลาดยาง โดยจะตาก 1 ช่องจราจรแล้วมีการนำอุปกรณ์ หรือกรวยยางมาวางเป็นสัญลักษณ์ไว้ เพื่อให้ผู้สัญจรเห็น โดยเกษตรกรก็ให้เหตุผลเหมือนกันว่า ไม่มีสถานที่ตากจึงจำเป็นต้องมาตากบนถนน พอตกเย็นก็จะเก็บกองรวมไว้ไหล่ทางแล้วใช้ผ้าคลุมปิดไว้ จึงอยากให้เห็นใจชาวนาด้วย
นายวิทย์ วรวงศ์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทบุรีรัมย์ ก็ได้ออกมาแจ้งเตือนเกษตรกรว่า ตามกฎหมาย พ.ร.บ.ทางหลวง มาตรา 38 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดติดตั้ง แขวน วาง หรือกองสิ่งใดในเขตทางหลวงในลักษณะที่เป็นการกีดขวางหรืออาจเป็นอันตรายแก่ยานพาหนะ หรือในลักษณะที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวงหรือความไม่สะดวกแก่งานทาง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ซึ่งหากฝ่าฝืนก็จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ที่มา www.sanook.com /https://me-panya.com/

กัญชา 2 ไร่ ผลผลิตเท่ากับ นาข้าว 10 ไร่ ต้นสดกิโลละ 20,000 สกัดเป็นสาร กิโลละล้าน



“หมอพื้นบ้าน” ยันกัญชาเสพแค่ไหนก็ไม่ติด แนะรัฐนำร่องปลูกในบางจังหวัด ทดแทนพืชไร่ราคาตกต่ำ

เผย กัญชา 2 ไร่ ผลผลิตเท่ากับ นาข้าว 10 ไร่ ต้นสดกิโลละ 20,000 สกัดเป็นสาร กิโลละล้าน 


แม้จะยังไม่ลงตัวเกี่ยวกับมาตรการปลดล็อคกัญชาจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เป็นประเภท 2 เพื่อให้สามารถไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
นอกจากนี้ยังมีกระแสถกเถียงเรื่องข้อกังวลว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเสพกัญชามากขึ้นหรือไม่ ถึงกับมีการตั้งข้อสังเกตว่า “กัญชา พืชร้ายหรือสมุนไพรทางเลือก”  โดยมองว่า อาจจะเป็นโทษมากกว่า
โดยหมอประเดิม ส่างเสน เลขานุการหมอชนเผ่า 7 จังหวัดภาคเหนือ กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะทำงานวิจัยของหมอพื้นบ้านภาคเหนือ และคณะทำงานหมอพื้นบ้านชนเผ่าลุ่มน้ำโขง และเป็นทายาทหมอชนเผ่ารุ่น 12
ซึ่งรักษาโรคตามคัมภีร์โบราณมากว่า 1,000 ปี ขอยืนยันว่า กัญชาไม่ใช่ยาเสพติด เสพนานแค่ไหนก็ไม่ติด พวกที่เสพแล้วเกิดอาการทางจิตประสาทนั้นเป็นเพราะ ไปพลิกแพลงเสพผิดประเภท
โดยทำในรูปโรยสังขยา ซึ่งหมายถึงมีการผสม ผงขาว เฮโรอีน ฝิ่น จนเกิดเป็นโทษ ทั้งที่ความจริงโดยเนื้อแท้ของกัญชาแล้ว หมอพื้นบ้านรู้ดีว่า ไม่มีทางติดแน่นอน
หมอประเดิม  กล่าวด้วยว่า กัญชา มีสรรพคุณรักษาโรคได้กว่า 50 โรค 100 กว่าอาการ รวมถึงช่วยชะลอวัยได้ด้วย
เนื่องจากในกัญชามีสาร 2 ชนิดหลัก ที่ทำหน้าที่ร่วมกัน คือ สาร Cannabidiol ซึ่งเป็นสารที่มี่อยู่ในตัวมนุษย์  ทำหน้าที่ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ลดการอักเสบบวมโตของแผลหรือเนื้องอก ระงับเซลล์มะเร็งที่กำลังเติบโต ระงับการเกร็งหรือชักกระตุก
และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันในระบบประสาทได้ และสาร Tetrahydrocannabinol ทำให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม อีกทั้งยังเป็นตัวที่ทำให้ระบบประสาทสัมผัสทำงานดีขึ้น ช่วยกระตุ้นให้อยากอาหาร
“คนทั่วไปมักคิดว่า วิธีใช้คือการสูบเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว วิธีหยอดใต้ลิ้นด้วยสารสกัดจะได้รับทั้งสารทั้งสองชนิด สูงกว่า
ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยโรคทางสมองเพราะกัญชาจะไปเปิดระบบประสาท ทำให้ตัวกัญชาซึมเข้าสู่ระบบประสาทได้เร็วกว่าการกิน เช่น ผู้ป่วยสันนิบาต พาร์กินสัน ลมชัก” หมอประเดิม กล่าว
หมอประเดิม กล่าวอีกว่า  สำหรับผู้ป่วยโรคผิวหนังก็สามารถใช้ทา ส่วนรายที่รักษาริดสีดวง มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งปากมดลูก เขาก็แนะนำให้ใช้วิธีเหน็บทางทวารหรือช่องคลอด อย่างไรก็ตามผุ้เข้ารับการรักษาต้องได้รับการดูแล และต้องใช้กัญชาในปริมาณตามที่หมอกำหนดและสามารถใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันโดยสามารถดูดซึมได้มากกว่าเดิมด้วย
“พวกเราสนับสนุนการออกกฎควบคุม แต่ต้องไม่ปิดกั้นหมอพื้นบ้านในการใช้เพื่อการรักษา เพราะกัญชาสามารถทำให้การดูดซึมยา ทั้่งแผนโบราณและปัจจุบัน ให้ไปรักษาได้ตรงคน ตรงโรค มีงานวิจัยมากมายที่มีผลการรักษายืนยัน และหลักฐานเชิงประจักษ์” หมอประเดิม กล่าว
เลขานุการหมอชนเผ่า กล่าวด้วยว่า อยากเสนอรัฐบาลให้กำหนดพื้นที่ปลูกกัญชานำร่อง โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้เครือข่ายหมอพื้นบ้านได้ประชุมร่วมกันโดยมีผู้แทนจากจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย ลำพูน ลำปาง รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ มหาสารคาม และภาคตะวันออกคือ ชลบุรี
โดยจะนำเสนอรัฐบาลเร็ว ๆ นี้ ส่วนที่มีข่าวกรมทรัพย์สินเปิดให้มีการจดสิทธิบัตรกับต่างประเทศนั้น ทางหมอพื้นบ้านติดตามข่าวตลอด และเตรียมพร้อมที่จะไปจดบ้าง
อยากให้เปิดเผยและให้ความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกัน และเชื่อว่า กัญชาจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำเงินให้กับประเทศไทย และจะสามารถยืดอายุคนไทยให้ยาวนานขึ้นด้วย
“ปัจจุบันเกษตรกรพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ หากมีการเปลี่ยนแผนการเพาะปลูกในบางพื้นที่ที่มีดินที่เหมาะสมมาเป็นกัญชาก็จะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ เพราะกัญชา 2 ไร่ ผลผลิตเทียบได้กับปลูกข้าว 10 ไร่
กัญชาในตลาดมืดเวลาต้นสด กิโลกรัมละ 25,000 บาท และหากสกัดเป็นสาร ก็สามารถจำหน่ายและส่งออกได้ถึงกิโลกรัมละ 1 ล้านบาท”
หมอประเดิม กล่าวพร้อมระบุว่า ปัจจุบันแม้จะมีกฎหมายควบคุมแต่ก็มีหมอพื้นบ้านบางส่วนปลูกกัญชาเพื่อการรักษา ซึ่งจากที่ได้ประชุมกับอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย ท่านก็แสดงความเป็นห่วง โดยบอกว่า อยากให้ทำให้ถูกต้อง โดยขอให้ทำเป็นขั้นเป็นตอน และนำสิ่งที่ทำกันใต้ดินมาอยู่บนดินให้หมด
ที่มา naewna.com/http://phumpunya.com